Your search results

สาระหน้ารู้ เกี่ยวกับค่าส่วนกลางคอนโด ตอน 1

Posted by Napatsanan Pipattanakitphuvadol on June 22, 2015
| News
| 0

เชื่อว่าหลายๆท่าน ที่อยู่คอนโดมิเนียม หรือเรียกสั้นๆว่าคอนโด คงคุ้นเคยกับคำว่า “ค่าส่วนกลาง” หลายๆท่านอาจจะทราบเพียงว่า ค่าส่วนกลางนั้นต้องเก็บทุกปี แต่ที่เรียกเก็บค่าส่วนกลางนั้น เอาไปทำอะไรให้ท่านๆบ้าง ทำไมต้องจ่าย หลากหลายคำถาม ที่หลายๆท่านสงสัย วันนี้ Apris ขอรวบรวมคำถาม มาตอบ เพื่อให้ท่านที่ยังไม่เข้าใจ ได้ทราบ ว่า “ค่าส่วนกลาง” สำคัญอย่างไร?

ทำไมต้องจ่ายค่าส่วนกลาง ? 

ในการอยู่อาศัยคอนโด จะมีทั้ง “ทรัพย์ส่วนตัว” ซึ่งเป็นพื้นที่ในห้องของเราเอง และ “ทรัพย์ส่วนกลาง” ที่นอกเหนือพื้นที่ของห้องเรา เช่น โถงทางเดิน สระว่ายน้ำ สวน ลานจอดรถ เป็นต้น ซึ่งทรัพย์ส่วนกลางเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษา ซึ่ง ณ ที่นี้ ก็คือ นิติบุคคล นั้นเอง เมื่อมีการบำรุงรักษา ก็จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ทั้ง ค่าแม่บ้านทำความสะอาด ค่าน้ำ ไฟ ค่า รปภ.  ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าว จะช่วยให้คอนโดที่เราอยู่มีความปลอดภัย และสวยงามอยู่เสมอ ดังนั้นแล้วจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราต้องจ่ายค่าส่วนกลาง

ค่าส่วนกลางต้องจ่ายเมื่อไหร่ ? 

ตามกฏหมายอาคารชุด ไม่ได้กำหนดเวลาว่าต้องเรียกเก็บค่าส่วนกลางเมื่อไหร่ ? เพียงแต่กำหนดว่า ต้อง “ชำระล่วงหน้า”  ซึ่งในทางปฏิบัติ ค่าใช้จ่ายส่วนกลางของคอนโด เรียกเก็บ เป็น ” ….บาทต่อตารางเมตร”  และมักจะกำหนดให้ชำระในตอนต้นปี ของปีนั้นๆ เช่น ค่าส่วนกลางปี 2558 อาจจะมีการกำหนดให้ชำระก่อน วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้น

ถ้าไม่จ่ายค่าส่วนกลาง จะเกิดอะไร ?

เบื้องต้น ทางนิติบุคคล จะส่งจดหมายเพื่อทวงถามค่าส่วนกลางก่อน แต่ถ้าหากว่าระยะเวลาผ่านไป แล้วยังไม่จ่าย อาจจะมีมาตราการปรับ หรือว่าระงับ  โดยกฏหมายอาคารชุด ได้กำหนดการปรับเนื่องจากจ่ายค่าส่วนกลาง ล่าช้า ไว้ดังนี้

1.กรณีค้างชำระค่าส่วนกลางไม่เกิน 6 เดือน นิติบุคคล สามารถเรียกค่าปรับ ได้ไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี เช่น หากค่าส่วนกลาง คอนโด A ของนางสาว ก. ต้องเสียปีละ 20,000 บาท หากนางสาว ก. ค้างชำระค่าส่วนกลาง ไม่เกิน 6 เดือน นิติบุคคลสามารถเรียกเบี้ยปรับค่าส่วนกลางดังกล่าวได้ไม่เกิน 2,400 บาท เป็นต้น

2.กรณีค้างชำระค่าส่วนกลาง เกิน 6 เดือน  นิติบุคคล สามารถเรียกค่าปรับ ได้ไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี เช่น หากค่าส่วนกลาง คอนโด B ของนางสาว ข. ต้องเสียปีละ 45,000 บาท กรณี นี้ นิติบุคคล สามารถเรียกเบี้ยปรับ ค่าส่วนกลางดังกล่าว ได้ไม่เกิน 9,000 บาท

ทั้งนี้ นิติบุคคล อาจจะ ทำการระงับ key card เข้าออกคอนโด หรือ งดบริการน้ำประปา เป็นต้น พร้อมทั้งตัดสิทธิการเข้าประชุมลูกบ้าน  ซึ่งผลกระทบดังกล่าว จะกระทบถึงเม็ดเงินที่จะเข้ามาบริหารทรัพย์ส่วนกลาง ในปีนั้นๆ อีกด้วย

 

#apris

Leave a Reply

Your email address will not be published.

  • Advanced Search

    ฿ 12,000 to ฿ 500,000,000

  • Mortgage Calculator