ช่วงกลางเดือนมีนาคม ของทุกปี เป็นช่วงที่เข้าใกล้กับ “ฤดูร้อน” ของเมืองไทย จะว่าไปแล้วเมืองไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ แทบจะไม่มีวันที่หนาวเลย ผู้คนกว่า 80% ต่างพึ่งพาแอร์คอนดิชั่น ทั้งนั้น …
บางคนอาจถือโอกาศช่วงใกล้หน้าร้อน ทำความสะอาดแอร์ เพื่อสู้กับพลังแดดของเมืองไทย หรือบางคนอาจจะเปลี่ยนแอร์ใหม่ไปเลย ซึ่งแอร์ก็มีให้เลือกหลากหลาย วันนี้ Apris จะมาแนะนำเคล็ดลับการเลือกแอร์ที่เหมาะสม กับห้อง และการใช้งาน เพื่อเปิดให้เย็นฉ่ำ รับหน้าร้อนเมืองไทยกันเสียที
ก่อนอื่น เรามารู้จักคำว่า บีทียู กันเสียก่อน ? บีทียู คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการซื้อแอร์อย่างไร?
BTU (British Thermal Unit) คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง ( ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในระบบของแอร์ ) สามารถเทียบได้กับหน่วยจูลหรือแคลอรีในระบบสากล โดยที่ความร้อน 1 Btu คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ แอร์นั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความ ร้อน ( ถ่ายเทความร้อน ) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียู ( Btu ) เช่นแอร์ขนาด 14,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าแอร์เครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจาก ห้องปรับอากาศ 14,000 บีทียูภายในเวลา 1 ชั่วโมง
ซึ่ง หากเราเลือกแอร์ที่มี BTU สูงเกินไป ข้อเสียคือ จะเปลืองไฟ , ความชื้นในห้องสูง และแอร์ตัดบ่อย หรือในทางตรงกันข้าม หากเลือก BTU ต่ำเกินไป คอมเพรสเซอร์แอร์ จะทำงานหนักมากขึ้น และแอร์จะพังเร็วขึ้น
วันนี้มีสูตรคำนวณ การเลือก BTU แอร์ง่ายๆ โดยสูตรมีดังนี้
BTU = พื้นที่ห้อง(กว้างxยาว) x ตัวแปร
แล้วค่าตัวแปร ใช้ตัวแปรอะไรคูณเข้าไปในสูตร Apris มีค่าตัวแปร แบบ จำง่ายๆดังนี้
700 = ห้องที่ฝ้าเพดานต่ำ(ประมาณ 2-2.4 เมตร) /ใช้ความร้อนช่วงกลางคืน / ห้องนอน
800 = ห้องที่โดนแดดช่วงกลางวัน /ห้องทิศตะวันตกของอาคาร / ห้องที่ใช้แอร์ช่วงกลางวัน / ห้องรับแขกของบ้าน
900= ห้องชั้นบนสุดของอาคาร เช่น penthouse / ห้องทิศตะวันตกของอาคาร /ห้องที่ฝ้าเพดานสูง (3 เมตรขึ้นไป ) /ห้องฟิตเนส
1000= ห้องที่มีความร้อนอยู่ เช่น ร้านทำผม ออฟฟิตสำนักงาน
*กรณี ฝ้าเพดานสูงกว่า 3.2 เมตร ให้บวกเพิ่มอีก 5% จากผลที่คำนวณได้
ยกตัวอย่างเช่น
ห้อง penthouse ขนาด 10 x 12 เมตร ความสูงของฝ้าเพดาน 4.5 เมตร จะคำนวณได้ดังนี้
BTU = [ (10×12) x 900 ] x 1.05 เท่ากับว่า ห้องนี้ใช้แอร์ทั้งสิ้น 113,400 BTU เป็นต้น
เท่านี้ก็ได้หลักการง่ายๆในการคำนวณขนาดแอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน
หากมีข้อซักถามเกี่ยวกับบทความ สามารถส่งเมลมาสอบถามได้ที่ napatsanan@aprisproperty.com
ผู้เขียน – นภัสนันท์ พิพัฒนกิจภูวดล